วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ตัวอย่างสารนิพนธ์

สารนิพนธ์

เรื่อง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ณ บริษัท SPB GARMENT



เสนอ





จัดทำโดย
โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ





สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 3 ( 3504804 )
หมู่เรียน ภาคเรียนที่
โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา





คำนำ

ถ้าหากจะพิจารณาในแง่ของผลงาน หรือผลผลิตที่เป็นรูปธรรมของการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ความสำคัญของสารนิพนธ์ก็จะปรากฏชัดเจนขึ้น เพราะสารนิพนธ์เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความวิริยะอุตสาหะและความรอบรู้ ที่จะใช้ยืนยันและให้ตรวจสอบความจริงได้ทันทีที่แสดงความเป็นมหาบัณฑิต การที่สามารถตรวจสอบและยืนยันในคุณภาพของผลงาน ก็ยังกำหนดให้นักศึกษาต้องทำการวิจัย " ขนาดเล็ก " หรือ สารนิพนธ์ ซึ่งรวมถึงต้องรายงานให้เสร็จสมบูรณ์ด้วย โดยหลักการแล้วรายงานจากการวิจัยขนาดเล็กนี้ก็มีลักษณะ และ วิธีการเขียนเช่นเดียวกับการทำวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

ในการศึกษาต่อเพื่อเพิ่มคุณวุฒิในระดับบัณฑิตศึกษา จากระดับมหาบัณฑิตไปสู่ระดับดุษฎีบัณฑิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันการศึกษาที่มีความแตกต่างกัน หรือการที่เจ้าของ กิจการต้องการตรวจสอบความรู้ ความสามารถ ในการปฏิบัติงานของบัณฑิตว่ามีความรู้ความสามารถจริง ดังใบปริญญา หรือมีความรู้ความสามารถตรงกับขอบเขต และคุณภาพของงานที่ต้องการจะว่าจ้างหรือไม่ สิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันในคุณสมบัติ และในคุณภาพที่เป็นรูปธรรมก็คือ สารนิพนธ์ ดังนั้นการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ลึกซึ้ง และการใช้ความสามารถในการทำสารนิพนธ์ จึงนับว่ามีความสำคัญมากที่สุดของการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

สิ่งที่สำคัญที่สุดของวิทยานิพนธ์ที่สมบูรณ์ก็คือ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพซึ่งในที่นี้หมายรวมถึงองค์ประกอบ และขั้นตอนการปฏิบัติการต่างๆที่ถูกต้องตามหลักการศึกษา การดำเนินการปฎิบัติงานจึงเป็นการสร้างเสริมความรู้ความสามารถ หลายประการให้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ความสามารถทั้งหลายที่กล่าวถึงนี้เป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ดังนั้นการทำสารนิพนธ์ จึงเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความสามารถที่พึงประสงค์ทั้งหลายเหล่านี้








สารบัญ
หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
สารบัญภาพประกอบ ง

บทที่ 1 บทนำ
หลักการและเหตุผล 1
วัตถุประสงค์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
ขอบเขตของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

บทที่ 2 ข้อมูลของบริษัท Spb. Grament
ประวัติความเป็นมาของบริษัท Spb. Grament 4
โครงสร้างขององค์กร 5
ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน 6
ลักษณะงานของตำแหน่งงาน MARKETING PRODUCT AST.MANAGER 6 - 7

บทที่ 3 การดำเนินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
วิเคราะห์ SWOT การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 8 - 9
ขั้นตอนและวิธีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 10 - 11

บทที่ 4 สิ่งที่ได้เรียนรู้และได้รับการฝึกจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ด้านความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน 12
ด้านประสบการณ์พิเศษ
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
การแก้ปัญหาในการทำงาน 13

บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 14
สรุปปัญหาและอุปสรรคในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
แนวทางการพัฒนาตน
ข้อเสนอแนะ

เอกสารอ้างอิง 15
ภาคผนวก
ตัวอย่างใบสั่งตัด 16
ตัวอย่างใบสั่งพิมพ์ 17
ตัวอย่างใบสั่งปัก 18
ตัวอย่างใบสั่งเย็บ 19
ประวัติผู้จัดทำ 20





















สารบัญภาพประกอบ
หน้า
สถานที่ทำงาน
1.1 หน้าบริษัท 21
1.2 แผนกออกแบบดีไซน์
1.3 แผนกดีเทล (โต๊ะทำงาน)
1.4 แผนกตัด 22
1.5 แผนกเย็บ
1.6 แผนกแพ็คกิ้ง 23
1.7 แบบตัวเสื้อที่ผลิตเสร็จ






















บทที่1

บทนำ
เสื้อผ้าช่วยเสริมให้คนๆหนึ่งดูดีมีบุคลิก และ สร้างความประทับใจให้กับคนรอบข้างได้ เพราะไม่ว่า สี แบบ และลวดลาย ของ เสื้อผ้า มีส่วนช่วยเสริม และอำพรางรูปร่างของผู้สวมใส่ จะเห็นได้ว่า บางคนรูปร่างท้วม แต่ดูเพรียวขึ้นได้ เพราะ เลือก เสื่อผ้า ที่แบบ และ สี ที่เหมาะกับตัวเองที่สุดดังนั้น การเลือกซื้อ เสื้อผ้า จึงไม่ใช่ความพึงพอใจชั่วขณะอย่างเดียว แต่การจะเลือกที่เหมาะและเสริมบุคลิกตัวเองให้มั่นใจได้นั้น จึงต้องพิถีพิถันและให้เวลา ในการเลือกเนื้อผ้า แบบลวดลาย และ สีสัน
ธุรกิจการผลิตเสื้อผ้าถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ ทุกคนต้องใช้ แล้วธุรกิจนี้มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบหรือสีสันต่างจึงทำให้ ไม่เบื่อง่าย รวมถึงการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง และรูปแบบที่ต้องมีการพัฒนาแข่งกันตลอด จึงทำให้ เราได้เรียนรู้และพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึ่งทำให้บุคคลทั่วไปอยากที่จะทำธุรกิจนี้ แต่ในปัจจุบันยังไม่มี ข้อมูลต่างๆ ที่เพียงพอและ ที่สำคัญคือการปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ทางด้านนี้
หลักการและเหตุผล
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเปรียบเสมือนการเปิดห้องเรียนอีก 1 ห้อง ซึ่งที่เป็นห้องในโลกของความเป็นจริง การนำวิชาความรู้ในบทเรียนมาปรับปรุงและดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์ที่สุดในการทำงานเหมือนกับการฝึก และการเตรียมความพร้อมให้กับตัวเอง และปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ที่เราจะต้องก้าวเข้าไป ความเข้าใจในงาน ความเข้าใจในตัวบุคคล การเก็บกลั้นอารมณ์ การวางตัว การพูดจา ทั้งหมดนี้เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำงาน ถ้าเราปรับตัวได้เร็วมากเท่าไหร่ เราก็จะใช้ชีวิตในสังคมการทำงานได้อย่างมีความสุข

วัตถุประสงค์
สิ่งที่เราจะได้รับในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในครั้งนี้
1. การเรียนรู้วิถีชีวิตในการทำงาน
2. การปรับตัวเข้ากับสังคม
3. ความคิด หรือมุมมองใหม่ ๆ ในวงการธุรกิจ
4. รู้จักคิด และมีสติในการทำงาน
5. ความละเอียดรอบครอบ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้มุมมองการทำงานที่กว้างขึ้น
2. ได้สังคม และ ได้เพื่อนใหม่
3. รู้จักที่จะวางตัวในสังคม
4. การคิดค้นปรับปรุงการทำงานให้รวดเร็ว
5. สามารถเรียงลำดับวางแผนการทำงานได้

ขอบเขตของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
1. ออกใบสั่งงานทั้งหมดทุกแผนก ตัด เย็บ แพ็ค และจัดส่ง
2. ควบคุมดูแล และวางแผนงานผลิต
3. แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในงาน





















บทที่ 2

ข้อมูลของบริษัท Spb. Grament

ประวัติความเป็นมาของบริษัท Spb. Grament
บริษัท Spb. Grament ก่อตั้งในปี พศ. 2545 โดยเงินทุนของ คุณธนกฤต บุญนำศิริ และคุณไศลทิพย์ บุญนำศิริ โดยเป็นโรงงานผู้ผลิตเสื้อยืด T-SHIRT ออกจำหน่ายภายใต้ BRAND EK-01 System’G2 โดยไปเสนอขายตามร้านค้าส่งที่ประตูน้ำ โบ้เบ้ และได้พยายามหาฐานลูกค้าเสื้อยืด T-SHIRT มาโดยตลอด จนเป็นที่รู้จักในวงการเสื้อยืด T-SHIRT ว่าเป็น บริษัทผู้ผลิตที่มีคุณภาพและเป็นที่ไว้วางใจของลูกค้ามาโดยตลอด 5 ปีและมีการขยายตัวทางธุรกิจรวดเร็วจนเป็นที่น่าจับตามองในวงการธุรกิจเดียวกัน เพราะเชื่อกันว่าภายในระยะเวลา 5 ปี บริษัทฯ สามารถยึดส่วนครองตลาดมาได้ 1 ใน 4 ซึ่งถือเป็นความสำเร็จก้าวหนึ่งของบริษัทฯ ที่จะมุ่งเปิดตลาดให้ลูกค้ารู้จักและยอมรับในตัวสินค้ามากขึ้น

ปัจจุบันบริษัทฯ มีฐานลูกค้าอยู่ที่ โบ้เบ้ 4 แห่ง และมีฐานลูกค้าอยู่ที่ ประตูน้ำ 3 แห่ง มี SHOP BRAND EK-01 อยู่ 1 แห่ง และในระยะเวลาอันใกล้นี้บริษัทฯ เตรียมที่จะเปิดตัวน้องใหม่ BRAND DOGTAG ที่สยามเซ็นเตอร์ และตามสนามBB ทั่วกรุงเทพฯ และเขตปริมลฑล















สถานที่ตั้งบริษัท Spb. Garment
53/24-25 หมู่ 8 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 (พาณิชยการธนบุรี) แขวง บางแวก เขต ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 โทร. 02 – 410 – 7922 - 3 แฟ็ก 02 – 865 - 7528




โครงสร้างขององค์กร
















ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน

บริษัท Spb. Grament เป็นบริษัทที่ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อยืด T-SHIRT ผ้าCotton Com 40 ภายใต้แบร์ดนสินค้า EK-01 และ System’G2 โดยมีทีมงานทั้งหมด 20 คน ซึ่งแบ่งตามสายงานต่าง ๆ ดังนี้
1. แผนกออกแบบดีไซน์
2. แผนกดีเทล
3. แผนกตัด
4. แผนกเย็บ
5. แผนกแพ็คกิ้ง
6. แผนกจัดส่ง
7. แผนกบัญชี

ลักษณะงานของตำแหน่งงาน MARKETING PRODUCT AST.MANAGER

ในตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมายจะมีหน้าที่ดูรายละเอียดของงานทั้งหมด และติดต่อรับออร์เดอร์จากลูกค้า วางแผนการผลิต และคอยแก้ไขปัญหางานต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละจุดของสายงานโดยแผนกที่จะต้องค่อยรับผิดชอบมีดังต่อไปนี้

4. แผนกออกแบบดีไซน์
ต้องสรุปงาน สรุปแบบ และตำแหน่งการวางงาน พร้อมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ ของงานที่เราได้จัดทำขึ้นมาแต่ละครั้ง

5. แผนกดีเทล
จัดทำงานตามแบบที่แผนกออกแบบดีไซน์จัดส่งมาให้และวางแผนงานการผลิตจัดเตรียมอะไหล่ วัสดุต่าง ๆ ของงาน ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็แล้วแต่งานนั้น ๆ ว่ารูปแบบที่สรุปออกมาเป็นลักษณะอย่างไร

6. แผนกตัด
วางแผนงานการใช้วัตถุดิบ ซึ่งปัจจัยหลักของการทำเสื้อผ้าก็คือผ้าที่เรานำมาใช้ ต้องคำนวณให้วัตถุดิบมีพอกับความต้องการที่จะนำมาผลิตสินค้า

7. แผนกเย็บ
การงานแผนงานเย็บเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการทำงาน เพราะเสื้อแต่ละตัวมีการตกแต่งต่างกันไปการใช้จักร เย็บ จักรพ้ง จักรลา การตั้งจักรในการทำงานแต่ละครั้งและการลื่นไหลของงานเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะทำให้สินค้าออกไปสู่ร้านค้าได้ทันตามความต้องการของลูกค้า

8. แผนกจัดส่ง
การจัดส่งงานแต่ละครั้งจะทำให้เกิดต้นทุนการผลิตเพราะแต่ละครั้งที่เราจัดส่งสินค้านั้นหมายถึงค่าน้ำมันรถที่เราจะต้องสูญเสียดังนั้นการวางแผนเส้นทางในการจัดส่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการประหยัดต้นทุนได้อีกเช่นกัน



















บทที่ 3

การดำเนินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

การวิเคราะห์ SWOT การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

จุดแข็ง STRENGTHS
หากจะถามหาข้อได้เปรียบของบริษัทฯ ที่มีอยู่เหนือคู่แข่งในการดำเนินธุรกิจเสื้อยืดแฟชั่นอาจจะเปรียบเทียบเป็นข้อได้ดังนี้
1. ผู้บริหารและทีมงานมีประสบการณ์และมีการวางแผนงานที่ดี
2. ทีมงานบริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดและความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
3. ทีมงานมีความชำนาญทางด้านเทคนิคหรือทักษะที่โดดเด่นเหนือคู่แข่ง
4. ส่วนครองตลาดที่มีอยู่คู่แข่งไม่สามารถเข้ามาแย่งชิงได้และขณะเดียวกันบริษัท ฯ พร้อมที่จะเติบโตและครอบครองส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น
5. ฐานนะทางการเงินมั่นคง และพร้อมที่จะขยายตลาดทางธุรกิจ
6. บุคลากรและทีมงานทางการตลาดมีคุณภาพสูง
7. ผู้บริหารมีประสบการณ์การวางแผนในการขายสินค้าได้เป็นอย่างดี
8. รูปแบบของสินค้าลอกเลียนแบบได้ยาก
9. สินค้ามีชื่อเสียง มีคุณภาพ และครองใจลูกค้ามาเป็นเวลานาน
10. บริษัท ฯ มีความได้เปรียบทางด้านต้นทุน

จุดอ่อน WEAKNESSES
ในทางกลับกันถ้าเราพูดถึงจุดแข็งเราคงต้องพูดถึงจุดอ่อนของบริษัทฯ ที่ด้อยกว่าคู่แข่งซึ่งจะเปรียบเป็นข้อได้ดังนี้
1. ส่วนแบ่งตลาดยังคงมีอยู่เพียง 1 ใน 4 ของตลาดเท่านั้น
2. ทีมงานในการผลิตสินค้ามีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการทางการตลาด
3. พนักงานขาดความจงรักภักดี และ ขาดความซื่อสัตย์ในงาน
4. ค่าจ้างแรงงานต่ำเกินกว่ามาตรฐานทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพนักงานบ่อยครั้ง
5. การตัดสินใจล่าช้าของผู้บริหาร
6. ธุรกิจจำเป็นต้องใช้แรงงานคนเป็นหลัก
7. ระบบการทำงานเป็นแบบครอบครัว
8. ภาพลักษณ์ของบริษัทกับร้านค้าบางแห่งไม่ดี
โอกาส OPPORTUNITIES
ปัจจัยหรือสถานการณ์ภายนอก ที่มีส่วนช่วยให้บริษัทฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และเป็นไปอย่างที่มุ่งหวังซึ่งจะแจกแจงได้ดังนี้
1. ความเชื่อมั่นของนักลงทุน
2. การเพิ่มบริการให้กับร้านค้า มีการจัดรายการส่งเสริมการขาย
3. การขยายสายการผลิตสินค้า เพื่อให้สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้ตามเป้าหมาย
4. ได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการบริหารงานได้เป็นอย่างดี
5. มีการเปิดฐานลูกค้าเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากขึ้น
6. มีการจับมือเป็นพันธมิตรกับองค์กรที่เกี่ยวของกับกระบวนการผลิตสินค้า
7. มีการออกแบบลักษณะงานขึ้นมาใหม่เพื่อให้เกิดความต่างทางการตลาดก่อนคู่แข่ง
8. การเปิดตัวทางการตลาดเพื่อขยายชื่อ และ ตราผลิตภัณฑ์ในเครือเพิ่มขึ้น

อุปสรรคหรือภัยคุกคาม THREATS
ปัจจัยภายนอกซึ่งอาจมีผลกระทบทำให้บริษัทฯ ประสบความล้มเหลว ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ สำหรับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอาจมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของบริษัทอาจแบ่งได้ดังนี้
1. ความเป็นไปได้ที่บริษัทคู่แข่งจะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด
2. การเกิดสินค้าเลียนแบบทำให้บริษัทสูญเสีญยอดขายไป
3. การเจริญเติบโตทางการตลาด มีอัตราชะลอตัวลง
4. อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และสถานะภาพทางการเมืองของประเทศไม่มั่นคง
5. การเกิดสภาวะซบเซาของธุรกิจ
6. อำนาจการต่อรองของร้านค้าและผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ
7. การเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการ และรสนิยมของผู้ซื้อต่อผลิตภัณฑ์









หน้าที่และขั้นตอนของงานที่ได้รับมอบหมายในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

หน้าที่ของงานที่ได้รับมอบหมายตลอดระยะเวลาการฝึกงานสามารถแจกแจงได้ดังนี้

1. แผนกออกแบบดีไซน์
การออกแบบงานเสื้อผ้าแต่ละครั้งมีขั้นตอนไม่เหมือนกันเราอาจจะคิดหรือดัดแปลงรูปแบบ
งานได้ตามต้องการโดยที่รูปแบบยังคงเป็นที่ต้องการของลูกค้าโดยเราสามารถแจกแจงได้ดังนี้
1.1 การสร้างลาย
1.1.1 ถ้าในกรณีที่เราซื้อเสื้อผ้าของแบรด์นอื่นมาเพื่อดัดแปลงก็สามารถนำลายหรือรูปแบบของงานนั้นมาเข้าเครื่องสแกน และ ดร๊าฟรูปแบบของลายนั้นได้ในทันที
1.1.2 แต่ถ้าในกรณีที่เราออกแบบลายขึ้นมาเอง เราจะสร้างลายโดยใช้โปรแกรม
illustrator แล้วใส่จิตนาการตามแต่ที่เราต้องการให้เป็นรูปแบบงาน
1.2 จากนั้นเราจะนำลายที่ได้ลองมาวางลงในแพทเทริ์นแบบเสื้อ ที่เป็นแบบมาตรฐานของ
ทางบริษัทฯ เพื่อมาจัดวางให้รูปแบบของงานดูออกมาสวยเก๋ และตรงตามความต้องการของตลาดให้มากที่สุด
1.3 เมื่อจัดวางรูปแบบของงานได้แล้วเราจะมากำหนดรูปแบบของงานว่าลายนี้เราจะ
กำหนดให้เป็นงานพิมพ์ หรือ งานปัก
1.4 จากนั้นเราจะมากำหนดสีของงานและสีของตัวเสื้อที่เราจะใช้
1.5 ออกใบสั่งTEST ชิ้นงานที่เราสร้างขึ้นเพื่อนำไปเป็นใบสั่งงานในการสั่งทำตัวอย่าง ให้กับ
โรงพิมพ์ และโรงปัก
1.6 Print Film งานพิมพ์เพื่อให้โรงพิมพ์ได้ถ่ายFilm ขึ้นบล็อกทำตัวอย่าง และ Print Art งาน
ปักเพื่อให้โรงปักได้ขึ้นบล็อกทำตัวอย่าง
1.7 เมื่อได้ตัวอย่างงานมาแล้วเราจะมานั่งสรุปสีงานที่ให้ไว้ถ้าไม่ถูกใจก็จะมีการแก้ไขแล้วนก
กลับไป TEST งานรอบที่ 2 แต่ถ้าทุกอย่างสรุปลงตัวแล้วทางแผนกจะทำแบบตัวเสื้อจำลองเพื่อให้ กับฝ่ายดีเทลได้ดำเนินการต่อไป








2. แผนกดีเทล
เมื่อรับตัวอย่างงานที่สรุปมาจากแผนกออกแบบดีไซน์พร้อมทั้งแบบตัวเสื้อแล้วทางแผนกดีเทลจะดำเนินการต่อไปดังนี้
นำแบบตัวเสื้อที่ได้มาตัดแล้วติดตัวเสื้อนั้นลงกับใบสั่งงานตามแผนกต่าง ๆ ดังนี้
ออกใบสั่งตัดและเขียนจำนวนของงานที่จะผลิตพร้อมทั้งสีผ้า อะไหล่ต่าง ๆ
และรายละเอียดของงานทั้งหมดเพื่อจ่ายงานให้กับแผนกตัด
ออกใบสั่งพิมพ์พร้อมทั้งแนบตัวอย่างงานพิมพ์ที่สรุปและตำแหน่งของงานที่
สรุปแล้วส่งเข้าโรงพิมพ์พร้อมผ้าที่ตัดเสร็จ
ออกใบสั่งปักพร้อมทั้งกำหนดสีของงานและตำแหน่งของงานให้กับโรงปัก
พร้อมกับผ้า ( ทั้งนี้ผ้าอาจจะไปพิมพ์ก่อนแล้วค่อยมาปัก หรือ ปักได้เลย นั้นต้องขึ้นอยู่กับแบบงานที่วางเอาไว้ในตอนแรก )
ออกใบสั่งเย็บ ทั้งนี้งานเย็บนั้นต้องขึ้นตัวอย่าง 1 ตัวทุกครั้ง ก่อนที่จะออกใบสั่งเย็บได้
ใบวางแผนงานผลิตมีไว้เพื่อใช้ในการวางแผนการดำเนินงานให้อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดและ
สามารถทำให้งานถึงมือลูกค้าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
จัดซื้ออะไหล่และวัตถุดิบที่ใช้ในการตกแต่งเสื้อผ้าตามที่แผนกออกแบบดีไซน์ได้วางงานไว้

3. แผนกตัด
การวางแผนเรื่องการใช้วัตถุดิบในที่นี้ หมายถึง ผ้าCOTTON COM 40 ซึ่งถือว่าเป็นวัตถุดิบ
หลักที่ใช้ในการผลิตสินค้า ซึ่งการคำนวณผ้าที่จะใช้ตัดเย็บงาน 1 ตัวจะใช้ผ้าเท่าไหร่และผ้าที่มีพียงพอกับงานที่เราจะใช้หรือไม่ซึ่งจะต้องคำนวณผ้าให้เพียงพอต่องานในแต่ละครั้ง

4. แผนกจัดส่ง
วางแผนการเดินทางในการส่งงานให้ลูกค้าจัดคิวรถที่จะให้วิ่งงานว่าจะให้ไปที่ไหนบ้างในแต่ละ
วันเพื่อไม่เกิดการทับซ้อนเส้นทาง








บทที่ 4

สิ่งที่ได้เรียนรู้และได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ


ด้านความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน
จากการฝึกงานจะทำให้เราได้ความรู้ความเข้าใจในการทำงานเกี่ยวกับเสื้อผ้ามากขึ้น ความละเอียด ความรอบครอบ และการใส่ใจในผลิตสินค้าขึ้นมาแต่ละชิ้นนั้นเราต้องใส่ใจในรายละเอียดมากน้อยแค่ไหน เราอาจจะเคยได้เรียนรู้มาจากตำราเรียน แต่ในความเป็นจริงเราต้องมาปฏิบัติ เราต้องนำมาดัดแปลงให้สิ่งที่เราเรียนให้สามารถนำมาใช้ในการทำงานได้จริง อย่างการเรียนรู้โปรแกรมงาน illustrator ซึ่งเป็นโปรแกรมในการออกแบบลวดลาย ในเมื่อเราไม่เคยเรียนรู้มาจากตำราเรียนแต่สิ่งที่เราทราบคือโปรแกรม Photoshop ซึ่งเป็นโปรมแกรมที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน เราจึงนำโปรแกรม Photoshop มาดัดแปลงและค่อยศึกษาเรียนรู้ๆฃไปพร้อม ๆ กับโปรแกรม illustrator ซึ่งตรงนี้เราต้องใช้ไหวพริบ การช่างสังเกตุ และความขยันในการจดจำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เราสามารถใช้โปรแกรม illustrator ได้ ถ้าเราสามารถพัฒนาตัวเราเองได้เร็วเท่าไหร่มันจะยิ่งเป็นผลดีกับเรามากเท่านั้นการทำงาน ความขยันและความใส่ใจเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ สำรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครั้งนี้

ด้านประสบการณ์พิเศษ
ประสบการณ์พิเศษที่เราได้คงจะเป็นเรื่องการได้พบปะผู้คนได้รับทัศนะคติใหม่ ๆ ในการทำงาน ได้รู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้รู้จักมุมมองทางการตลาด การวิเคราะห์ตลาด และการรู้ให้เท่าทันคู่แข่ง การวางกลยุทธ์ทางการตลาด การพัฒนาคน ซึ่งเหล่านี้ต้องบอกว่าน้อยคนนักที่จะได้เรียนรู้และรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยส่วนใหญ่จะรู้แค่บางส่วนเท่านั้น แต่การที่เราได้ความรู้เยอะมากขนาดนี้ต้องขอบคุณหัวหน้างานที่ยินดีให้ข้อมูลต่าง ๆ

ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สังคมการทำงานในองค์กร และการทำงานภายนอกองค์กรนั้นมีความแตกต่างกันมาก เมื่อเราอยู่ในองค์กรเราจะต้องแสดงถึงความเป็นผู้นำและกล้าที่ตัดสินใจ ดูเป็นคนแข็งกร้าว จริงจังกับงาน แต่เมื่อเราออกมาข้างนอกพบปะร้านค้า เรากลับต้องอ่อนน้อมถ่อมตน รู้เป็นคนเจียมตัว และน้อมรับยอมรับสิ่งที่ร้านค้าว่า เพราะลูกค้าคือพระเจ้า คำนี้ยังคงใช้ได้ดีเสมอ
ในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ต่าง ๆ นั้นก็มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข้อเสนอต่าง ๆ ที่ทางบริษัทฯ จะนำมาให้กับเรา ( ทั้งนี้หมายถึงตัวบุคคลมิใช่บริษัทฯ ) ขึ้นอยู่กับการวางตัวของเราว่าเราจะสามารถแก้ไขสถานการณ์อย่างนั้นได้อย่างไร
การแก้ปัญหาในการทำงาน
ปัญหาในการทำงานมีตั้งแต่แรกเริ่มทำงานจนไปถึงจบเริ่มการแก้ไขปัญหาที่เกิดเริ่มด้วยอย่างแรกคือ เราต้องมีสติมากที่สุดและค่อย ๆ คิด และตัดสินใจแก้ไขกับปัญหาที่เกิดขึ้น เรียงลำดับขั้นตอนความสำคัญของงาน อย่างเช่น ในการเตรียมของส่งลูกค้า การนัดกำหนดการส่งงาน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เราจะทำอย่างไรให้สินค้าถึงมีร้านค้าได้เร็วที่สุดเราต้องวางแผนการทำงาน โดยเริ่มแรกตั้งแต่งานตัดถ้ามีปัญหาเช่นตัดผ้าผิดจากงานคอกลมเป็นคอปกเราก็ต้องกับไปดูที่งานว่าเราสามารถแก้ไขได้ไหมเราเอามาเจียนตรงคอให้กับไปเป็นคอกลมได้หรือไม่ ถ้างานเย็บมีปัญหาช่างเย็บงานไม่ทัน เราก็ต้องหาช่างเย็บข้างนอกให้มารับงานที่บริษัทไปทำโดยตกลงเรื่องค่าแรงกัน เป็นต้น
























บทที่ 5
สรุปและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพปัญหา และ อุปสรรค
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพผ่านไปได้ด้วยดีจะมีปัญหาเรื่องของระบบการทำงานที่ยังคงต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน เพื่อนร่วมงานยังคงไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ยังคงมีปัญหาเรื่องคนเก่า คนใหม่ ระบบงานไม่หลื่นไหล เนื่องจากขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ การตัดสินใจงานของผู้บริหารยังคงช้า และไม่มีความแน่นอน ความละเอียดรอบครอบของตัวเองในการทำงาน การติดต่อกับ ซัพพลายเออร์ด้านนอกยังคงเป็นไปได้อย่างลำบาก การควบคุมบุคลากรเป็นไปอย่างยากลำบาก

แนวทางการพัฒนาตน
การทำงานกับบุคคลที่เราไม่รู้จักอาจเป็นปัญหาใหญ่สำหรับในบางคน การวางตัว การพูด อาจเป็นสิ่งสำคัญ ความคิดเห็นส่วนตัวไม่จำเป็นทุกครั้งที่ต้องแสดง การไหลลื่นตามน้ำบางอาจเป็นผลดีกว่า การมั่นใจในตัวเองโดยไม่ฟังครอบข้าง คงไม่ดีนัก ต้องหันซ้ายหันขวามองคนรอบข้างบ้าง การมั่นใจในตนเองคงไม่ใช่ผลดีเสมอไป การมีทุกสิ่งแต่มีเพียงแต่พอควรคงจะดีกว่าถ้าเราสามารถปรับตัวเข้ากับคนได้เราคงพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่จะเข้ามาได้โดยไม่ยาก

ข้อเสนอแนะ
บริษัท Spb. Garment เป็นบริษัทที่ดีและเป็นบริษัทที่พร้อมจะให้ความรู้ความเข้าใจในทุก ๆ เรื่อง แต่บริษัทจะก้าวหน้ามากกว่านี้ถ้ามีบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาทำงาน และผู้บริหารที่กล้าที่จะตัดสินใจ และไม่โลเลในความคิด










เอกสารอ้างอิง

รองศาสตราจารย์พิบูล ทีปะปาล. Marketing Management in the 21 st Century. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์,2549. ISBN 974-7283-30-1

รองศาสตราจารย์พิบูล ทีปะปาล. Strategic Management. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์,2546.
ISBN 974-91212-1-X

www.graduate.mahidol.ac.th

กระทรวงพาณิชย์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา



------------------------------------
















ภาคผนวก

ตัวอย่างใบสั่งงานต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงาน

ใบสั่งตัด




ใบสั่งพิมพ์






ใบสั่งปัก




ใบสั่งเย็บ





ประวัติผู้จัดทำ


รหัสนักศึกษา : 4834408090 ชื่อ – สกุล : นางสาว ศิริพรรณ เพียวประเสริฐ
โปรแกรมวิชา : การบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) ภาค กศปช. หมู่ 1 /2
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ประวิทย์ ผลงาม
E-mail address : keepper_ja @hotmail.com
โทรศัพท์มือถือ : 089-6774432 , 086-3115944

สถานที่ติดต่อ (ที่อยู่ปัจจุบัน)
39/986 หมู่บ้านสินทวีงามเจริญ ซอย 3/6 ถนน พระรามที่ 2 แขวง ท่าข้าม
เขต บางขุนเทียน กทม. 10150
โทรศัพท์ : 02-8966603

ภูมิลำเนา / ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
39/986 หมู่บ้านสินทวีงามเจริญ ซอย 3/6 ถนน พระรามที่ 2 แขวง ท่าข้าม
เขต บางขุนเทียน กทม. 10150
โทรศัพท์ : 02-8966603

สถานที่ทำงาน
บริษัท SPB GARMENT
53/24-25 หมู่ 8 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขต ภาษีเจริญ กทม. 10160
ตำแหน่งงาน : MARKETING PRODUCT AST.MANAGER
โทรศัพท์ : 02 - 4107922 - 3

สถานที่ทำงาน



แผนกออกแบบดีไซน์



โต๊ะทำงาน



แผนกตัด




แผนกเย็บ






แผนกแพ็คกิ้ง



รูปแบบเสื้อที่เสร็จแล้ว

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

งานวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์

รายงาน

เรื่อง การวิเคราะห์สถานการณ์ กลยุทธ์ที่ใช้และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (บริษัทไทยประสิทธิ์ประกันภัย จำกัด)

เสนอ
อาจารย์สรสินธุ์ ฉายสินสอน

จัดทำโดย
นายสิทธิศักดิ์ พลโย รหัส 4722408004
นายณัฐวุฒิ อยู่เพ็ชร รหัส 4722408009
นายสุรพล แซ่จิว รหัส 4722408026
นายกวีพจน์ แสงกิติโกมล รหัส 4722408041
โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
หมู่เรียน N1

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการเชิงกลยุทธ์ (3564201) ภาคเรียนที่ 2/2550
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา



ไทยประสิทธิ์ฯ ฉีกตลาดประกัน

บริษัทไทยประสิทธิ์ประกันภัยจำกัด เปิดเผยว่า นโยบายการดำเนินงานของบริษัทในปีนี้เน้นสร้างสินค้าใหม่เพื่อเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) และลดสัดส่วนการรับประกันรถยนต์ของบริษัทลง ซึ่งจากเดิมที่มีสัดส่วนการรับประกัน 80% โดยแนวทางการสร้างสินค้าใหม่จะเน้นการรับประกันสัตว์เลี้ยง ที่ผ่านมาไม่มีบริษัทวินาศภัยในไทยรับประกัน แต่ในต่างประเทศเป็นที่นิยม ซึ่งบริษัทได้ยื่นขออนุมัติจากกรมการประกันภัยแล้ว คือการรับประกันโคนมสำหรับเกษตรกร และอยู่ระหว่างการพิจารณากรมธรรม์ประกันชีวิตสุนัข โดยจะเน้นการรับประกันสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงสุนัขเป็นหลัก โดยเฉพาะสุนัขที่มีเพดดิกรีและราคาสูง เป็นการรับประกันการเสียชีวิตและเจ็บป่วย เช่นเดียวกันอัตราเบี้ยประกันจะคำนวณจากราคาสุนัขเฉลี่ย 4-5% ของราคาขาย แม้ว่าผลประกอบการในไตรมาสแรกโดยเบี้ยรับรวมยังติดลบ 9.23% โดยเฉพาะประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่ลดลง 153.40% เบี้ยรับลดลง 2.8 ล้านบาท ประกันภัยทางทะเลลดลง 23.38% เบี้ยรับลดลง 3.7 แสนบาท เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการต่ออายุกรมธรรม์ประเภทต่างๆ ทำให้ตัวเลขทางบัญชียังติดลบ

วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ผลประกอบการในไตรมาสแรกของบริษัทไทยประสิทธิ์ประกันภัย โดยเบี้ยรับรวมยังติดลบ 9.23% โดยเฉพาะประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่ลดลง 153.40% เบี้ยรับลดลง 2.8 ล้านบาท ประกันภัยทางทะเลลดลง 23.38% เบี้ยรับลดลง 3.7 แสนบาท เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการต่ออายุกรมธรรม์ประเภทต่างๆ ทำให้ตัวเลขทางบัญชียังติดลบ จึงทำให้บริษัทต้องดำเนินการหานโยบายที่เหมาะสมมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับบริษัทในขณะนี้ ซึ่งนโยบายที่บริษัทนำมาใช้ก็คือ สร้างสินค้าใหม่เพื่อเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มและลดสัดส่วนการรับประกันรถยนต์ของบริษัทลงนั่นเอง

กลยุทธ์ที่ใช้
จากประโยคที่ว่า เน้นสร้างสินค้าใหม่เพื่อเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) กลยุทธ์ที่บริษัทไทยประสิทธิ์ประกันภัยได้นำมาใช้ มีดังนี้
1. กลยุทธ์การพัฒนาตลาด (market development) เป็นกลยุทธ์ที่นำมาใช้เพิ่มยอดขายและขยายการเติบโต โดยใช้ผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันออกจำหน่ายในตลาดใหม่ หรือกลุ่มลูกค้าในพื้นที่แห่งใหม่
2. กลยุทธ์การเติบโตตามแนวนอน (horizontal growth) เป็นกลยุทธ์ที่สามารถกระทำได้ด้วยการขยายผลิตภัณฑ์ของบริษัทเข้าสู่ท้องที่ใหม่ หรือขยายขอบเขตของผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อนำเสนอตลาดเดิมเพิ่มขึ้น
3. กลยุทธ์การเพิ่มธุรกิจใหม่ที่สัมพันธ์กับธุรกิจเดิม (concentric or related diversification) เป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ซึ่งใช้เทคโนโลยี และ/หรือการใช้เครื่องมือเสริมแรงทางการตลาดร่วมกัน กับสายผลิตภัณฑ์เดิมของบริษัท
4. กลยุทธ์เกี่ยวกับจังหวะเวลา (timing tactics) บริษัทแรกที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ก่อนผู้อื่น เรียกว่า “ผู้เคลื่อนไหวก่อน” (first mover) หรือ “ผู้นำร่อง” (pioneer) ซึ่งจะทำให้บริษัทมีความได้เปรียบต่อคู่แข่งขันและทำให้บริษัทเป็นผู้นำในตลาดด้วย

จากประโยคที่ว่า ลดสัดส่วนการรับประกันรถยนต์ของบริษัทลง กลยุทธ์ที่บริษัทไทยประสิทธิ์ประกันภัยได้นำมาใช้ มีดังนี้
5. กลยุทธ์การหดตัว (retrenchment strategies) เป็นกลยุทธ์ในเชิงรับหรือป้องกันตัว (defensive strategy) บริษัทจะเลือกใช้กลยุทธ์นี้เมื่อพบว่า ฐานะทางการแข่งขันของบริษัทตกต่ำเนื่องมาจาก SBU บางหน่วยหรือสายผลิตภัณฑ์บางสายหรือทั้งหมดไม่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงาน เป็นผลให้ยอดขายและกำไรหดตัว ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องหาทางปรับปรุงการดำเนินงานใหม่ให้ดีขึ้น เพื่อกำจัดจุดอ่อนบางอย่างให้หมดไป เพราะมิฉะนั้นเหตุการณ์ดังกล่าวจะฉุดบริษัทให้เลวร้ายลงไปมากกว่านี้
6. กลยุทธ์การฟื้นฟู (turnaround strategy) เป็นกลยุทธ์มุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้ดีขึ้น หรือเพื่อให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมมากที่สุด ในขณะที่บริษัทกำลังเผชิญกับปัญหาแต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต ซึ่งอาจกระทำได้ด้วยการลดขนาดของธุรกิจ และค่าใช้จ่ายลงทุกด้าน ธุรกิจที่อ่อนแอก็จะพิจารณาตัดออกหรือเลิกไป เพื่อนำทรัพยากรไปใช้ทางด้านอื่น ปรับปรุงโครงสร้างและปรับรื้อระบบธุรกิจใหม่ เพื่อให้การบริหารงานมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากพนักงานทั้งหมดได้รับการกระตุ้นจูงใจ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานใหม่ ก็จะมั่นใจได้ว่าบริษัทจะกลับมาเข้มแข็งอีกครั้งหนึ่ง และสามารถขยายการเติบโตได้ต่อไป

จากประโยคที่ว่า โดยแนวทางการสร้างสินค้าใหม่จะเน้นการรับประกันสัตว์เลี้ยง ที่ผ่านมาไม่มีบริษัทวินาศภัยในไทยรับประกัน กลยุทธ์ที่บริษัทไทยประสิทธิ์ประกันภัยได้นำมาใช้ มีดังนี้
7. กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (differentiation strategy) เป็นวิธีที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งอาจทำได้ด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากคู่แข่งขันในสายตาของลูกค้าวางออกจำหน่าย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้รับความพอใจในลักษณะที่ลูกค้ายินดีที่จ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการทั้งที่ราคาจะสูงกว่าปกติก็ตาม
8. กลยุทธ์การมุ่งเน้นตลาดเป้าหมายโดยเฉพาะ (focus strategy) เป็นกลยุทธ์ที่ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้บริษัทจำกัดขอบเขตการดำเนินงาน โดยการเลือกมุ่งเน้นตลาดขนาดเล็กโดยเฉพาะ (specific niche) ภายในตลาด
9. กลยุทธ์การตลาดมุ่งเฉพาะส่วน (concentrated marketing) เป็นกลยุทธ์ที่จะเลือกมุ่งเน้นให้บริการเพียงส่วนตลาดเดียวเท่านั้นหรือตลาดย่อย (niche)

ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
1. กลยุทธ์การพัฒนาตลาด (market development)
ข้อดี ทำให้บริษัทมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นและทำให้กำไรเพิ่มขึ้น
ข้อเสีย การที่บริษัทจะพัฒนาตลาด ต้องเสียค่าใช้จ่ายในด้านเงินทุน เพื่อขยายช่องทางในการจัดจำหน่าย แต่ถ้าสินค้าไม่เป็นที่ยอมรับจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปโดยเปล่าประโยชน์
2. กลยุทธ์การเติบโตตามแนวนอน (horizontal growth)
ข้อดี เพราะมีความชำนาญในธุรกิจ จึงสามารถสร้างจุดแข็งในการแข่งขันกับคู่แข่งขันในตลาดได้ ถ้าสินค้าเป็นที่ยอมรับบริษัทจะสามารถกำหนดราคาและขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาด
ข้อเสีย ธุรกิจจะมีความเสี่ยงมากเพราะฝากความหวังในการทำกำไรไว้กับสินค้าชนิดเดียว ไม่มีสินค้าอื่นมาช่วยเหลือในกรณีถ้าบริษัทเกิดยอดขายลดลงหรือขาดทุน
3. กลยุทธ์การเพิ่มธุรกิจใหม่ที่สัมพันธ์กับธุรกิจเดิม (concentric or related diversification)
ข้อดี บริษัทไม่ต้องเพิ่มหรือสรรหาบุคลากรเข้ามาใหม่ เพราะบริษัทสามารถใช้บุคลากรที่มีอยู่รองรับธุรกิจใหม่ได้ โดยที่บุคลากรนั้นมีความชำนาญและประสบการณ์ทำงานอยู่แล้ว
ข้อเสีย ถ้าสินค้าไม่เป็นที่ยอมรับในตลาด จะทำให้บริษัทขาดทุนและไม่มีโอกาสที่จะกลับมาทำกำไรในตลาดนี้ได้อีก เพราะตัวสินค้าหรือ Brand Loyalty มีชื่อเสียงในทางลบไปแล้ว
4. กลยุทธ์เกี่ยวกับจังหวะเวลา (timing tactics)
ข้อดี บริษัทมีชื่อเสียงในฐานะผู้นำ และเกิดการเรียนรู้อันเกิดจากประสบการณ์ในการดำเนินงานเพราะเป็นผู้นำก่อน ทำให้ได้รับผลกำไรจากลูกค้ากลุ่มแรกๆ ช่วยให้เกิดฐานลูกค้าเพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการเสนอผลิตภัณฑ์อื่นต่อไป
ข้อเสีย ผู้มาที่หลังสามารถลอกเลียนแบบได้โดยไม่ต้องลงทุน ผู้มาที่หลังจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเป็นผู้นำ
5. กลยุทธ์การหดตัว (retrenchment strategies)
ข้อดี เป็นการกำจัดจุดอ่อนบางอย่างให้หมดไป เพราะมิฉะนั้นเหตุการณ์ดังกล่าวจะฉุดบริษัทให้เลวร้ายลงไปมากกว่านี้ พร้อมทั้งยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงอีกด้วย
ข้อเสีย เมื่อมีการตัดสายผลิตภัณฑ์บางสายหรือทั้งหมดที่ไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานออกไป จะทำให้ยอดขายและกำไรลดลง รวมทั้งพนักงานที่เคยทำงานในสายผลิตภัณฑ์นั้นๆ ก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

6. กลยุทธ์การฟื้นฟู (turnaround strategy)
ข้อดี เป็นการตัดธุรกิจบางตัวออกหรือเลิกไปเพื่อนำทรัพยากรไปใช้ทางด้านอื่น โดยปรับปรุงโครงสร้างและปรับรื้อระบบธุรกิจใหม่ เพื่อให้การบริหารงานมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากขึ้น
ข้อเสีย กลยุทธ์นี้จะใช้ได้ผลดีก็ต่อเมื่อบริษัทจัดอยู่ในกลุ่มคู่แข่งที่มีความอ่อนแอกว่าในอุตสาหกรรมเดียวกัน
7. กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (differentiation strategy)
ข้อดี เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันตัวเองที่ไม่ต้องแข่งขันกับคู่แข่งขันอื่น ทำให้ลูกค้าให้ความสนใจเรื่องราคาน้อย คือ บริษัทสามารถผลักภาระราคาที่สูงขึ้นไปยังลูกค้าได้ และผลิตภัณฑ์มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ตรงกับความต้องการลูกค้า
ข้อเสีย เป็นเรื่องยากที่จะยังคงรักษาราคาพิเศษให้ยั่งยืนไว้ได้ เมื่อเวลาล่วงเลยไปความแตกต่างอาจลดความสำคัญลงในสายตาของลูกค้า หรือบริษัทอื่นอาจลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของบริษัท จนลูกค้ามองไม่เห็นความแตกต่าง
8. กลยุทธ์การมุ่งเน้นตลาดเป้าหมายโดยเฉพาะ (focus strategy)
ข้อดี บริษัทสามารถสร้างความแข็งแกร่งในตลาดนี้ได้เพราะมุ่งเน้นเพียงตลาดเดียว
ข้อเสีย บริษัทมีความเสี่ยงสูงเมื่อความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไป
9. กลยุทธ์การตลาดมุ่งเฉพาะส่วน (concentrated marketing)
ข้อดี บริษัทสามารถทำผลกำไรในตลาดเล็กแข่งกับบริษัทคู่แข่งที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่าเพราะบริษัทอยู่ใกล้ชิดลูกค้าในตลาดนั้นๆมากกว่า
ข้อเสีย การที่บริษัทมุ่งเน้นตลาดเป้าหมายขนาดเล็ก บริษัทจะต้องเสี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่ค่อยๆเปลี่ยนกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ ทำให้รสชาติและลักษณะของผลิตภัณฑ์อาจไม่ชัดเจนตามกาลเวลาและบริษัทคู่แข่งที่มีขนาดใหญ่อาจเลียนแบบสินค้าเสียเองและนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ในที่สุดเราก็อยู่ไม่ได้


******************************************